จาการ์ตา, อินโดนีเซีย, 9 ธันวาคม 2562 – พบเรือประมงต่างชาติ 13 ลำ ซึ่งทำการบริเวณในบริเวณทะเลนอกน่านน้ำ ถูกกล่าวหาว่าละเมิดสิทธิแรงงานประมง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแรงงานจากประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และพัวพันกับขบวนการค้าแรงงานข้ามชาติ หรือที่รู้จักกันว่าคือ “แรงงานทาส” ในโลกยุคใหม่ [1]

จากรายงาน “เส้นทางการบังคับใช้แรงงานของลูกเรือประมงในโลกยุคใหม่ ” โดยกรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้เผย สภาพความเป็นอยู่และการทำงานของลูกเรือประมงอพยพ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ ที่ทำงานอยู่บนเรือประมงนอกน่านน้ำ  ซึ่งมีชาวต่างชาติเป็นเจ้าของ ทั้งนี้ จากการรวบรวมข้อมูลหลักฐานทั้งที่เป็นเอกสาร ผ่านการสัมภาษณ์แรงงาน พบมีเรื่องร้องเรียนรวม 34 กรณี ที่แรงงานถูกบังคับให้ต้องทำงานเกินเวลา ถูกทารุณกรรม และเข้าข่ายการละเมิดสิทธิมนุษยชน [2] 

นายซี อายุ 24 ปี อดีตลูกเรือบนเรือเบ็ดราวสัญชาติไต้หวันชื่อ จงต้า 2 (Zhong Da 2) ให้สัมภาษณ์เมื่อพฤษภาคม พ.ศ. 2561 ที่ผ่านมาว่า

“ผมถูกบังคับให้ทำงานโดยไม่ได้หยุดพักหรือกินอาหารเลย ผมเหนื่อยมากจนทำงานต่อไม่ไหว พอผมเห็นคนอื่นพัก ผมเลยหยุดพักบ้างและไปที่ครัว แต่ก็ไม่มีอาหารเหลืออยู่แล้ว ไต้ก๋งเรือถามผมว่า “นายมีปัญหาอะไร” ผมเลยบอกไปว่า “ไม่รู้เหรอว่าผมต้องพัก ต้องกินข้าวนะ ผมไม่ได้ทำผิดอะไร”

กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ติดต่อตัวแทนของเรือ จงต้า 2 และเรือประมงลำอื่น ๆ ที่ปรากฎอยู่ในรายงานเท่าที่มีข้อมูลติดต่อ แต่ตัวแทนของเรือ จงต้า 2 ไม่ได้ให้ความเห็นใด ๆ ต่อข้อกล่าวหาดังกล่าว

รายงานยังเผยให้เห็นขบวนการจัดหางานผิดกฎหมายซึ่งล่อลวงลูกเรือประมงชาวอินโดนีเซียจำนวนมากให้ตกเป็น “เหยื่อ” ทั้งนี้  กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้รับความช่วยเหลือจากสหภาพแรงงานประมงอินโดนีเซีย Serikat Buruh Migran Indonesia (SBMI) ในการวิเคราะห์สัญญา หนังสือค้ำประกัน และเอกสารที่เกี่ยวข้อง

ข้อมูลจากงานสืบสวนการปฏิบัติต่อแรงงานที่ผิดกฎหมาย พบกรณีลูกประมงชาวอินโดนีเซียรายหนึ่ง ซึ่งทำงานบนเรือสัญชาติไต้หวันชื่อ ชินจุน 12 (Chin Chun 12) ให้ข้อมูลว่า ตนเองไม่ได้รับค้าจ้างในช่วงหกเดือนแรก ในขณะที่ลูกเรืออินโดนีเซียอีกรายหนึ่ง ซึ่งทำงานบนเรือ เลียนยีฉิง 12  (Lien Yi Hsing 12) ให้ข้อมูลว่า ในช่วงสี่เดือนแรกได้รับค่าแรงเพียง 1,500 บาท (50 เหรียญสหรัฐฯ) [4] อย่างไรก็ตาม ตัวแทนเรือ ชินจุน 12 และ เลียนยีฉิง 12 ไม่ได้แสดงความคิดเห็นใดๆแต่เลียนยีฉิง 12 ออกมาตอบโต้และปฏิเสธข้อกล่าวหา [5]

“แม้ปัจจุบันเราจะมีนโยบายระดับชาติในการปกป้องแรงงานข้ามชาติและมีสนธิสัญญาระหว่างประเทศเกี่ยวกับการจัดการการประมงหลายฉบับ แต่ก็ไม่อาจยับยั้งการเติบโตของขบวนการค้าทาสสมัยใหม่ในอุตสาหกรรมประมงได้” อารีฟชาห์ นาสุชัน ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านทะเลและมหาสมุทร กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้กล่าว

“ธุรกิจลักษณะนี้จะไม่ควรมีอยู่อีกต่อไป ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องต้องร่วมกันแก้ไขปัญหาการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมกับแรงงานประมงอย่างเร่งด่วน  เพราะความเจ็บปวดของลูกเรือประมงเพียงหนึ่งก็มากเพียงพอแล้ว เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ ที่รัฐบาลต้องมีการบังคับใช้กฎหมายระดับชาติอย่างเต็มรูปแบบเพื่อปกป้องสิทธิของลูกเรือประมง หรือหากยังไม่มีกฎหมายที่ครอบคลุม ก็จะต้องปรับปรุงกฎหมายให้มีประสิทธิภาพโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้”

เนื่องด้วย การประชุมภาคีแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศครั้งที่ 25 (United Nations Framework Convention on Climate Change: COP25) ในปีนี้ หัวข้อหลักของการประชุมคือการให้ความสำคัญกับมหาสมุทร จนได้รับการขนานนามว่า “คอปเพื่อผืนน้ำสีฟ้า” (Blue COP) และในวาระที่วันสิทธิมนุษยชนสากล วันที่ 10 ธันวาคมนี้ กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เรียกร้องให้ประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ โดยเฉพาะประเทศอินโดนีเซีย ประเทศฟิลิปปินส์ และประเทศไทย ในการแก้ไขปัญหาการทำประมงเกินขนาด การทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (IUU Fishing) และการบังคับใช้แรงงานในท้องทะเล โดยหนึ่งในข้อเสนอหลักของรายงาน คือ เรียกร้องให้ประเทศอินโดนีเซียและประเทศฟิลิปปินส์รับรองสัตยาบันและดำเนินการตามอนุสัญญาว่าด้วยการทำงานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (C-188) เพื่อปกป้องพลเมืองของตนจากการละเมิดสิทธิมนุษยชนในเรือประมง [4] 

อ่านรายงานฉบับเต็ม (ภาษาอังกฤษ) ได้ที่นี่ https://act.gp/seaboundmodernslavery

อ่านบทคัดย่อรายงาน (ภาษาไทย) ได้ที่ https://act.gp/2PrlJAF

ดาวน์โหลดภาพ ที่นี่ https://media.greenpeace.org/Share/11t7d7mer80wva8phow28053a68ljc11

ชมวิดีโอได้ที่นี่  https://act.gp/2YtqJsN

หมายเหตุ:

[1] ข้อมูลชื่อเรือประมงที่ปรากฎในรายงานมาจาก ข้อมูลการจดทะเบียนเรือในสาธารณรัฐประชาชนจีน ประเทศไต้หวัน ประเทศวานูอาตู และประเทศฟิจิ ดูรายงานหน้า 28 

[2] ข้อมูลสรุป จากรายงานพบการร้องเรียนหลัก 4 ข้อ ได้แก่ 

i)  กรณีเข้าข่ายการหลอกลวง มีเรือประมงต่างชาติ 11 ลำ 

ii) กรณีการไม่จ่ายค่าจ้าง มีเรือประมงต่างชาติ 9 ลำ 

iii) กรณีการทำงานนอกเวลามากเกินไป มีเรือประมงต่างชาติ 8 ลำ 

iv) กรณีการทำร้ายทางกายและคุกคามทางเพศ มีเรือประมงต่างชาติ 7 ลำ

[3] ดังที่กล่าวไว้ในรายงาน หน้า 32 

[4] เงินเดือนของลูกเรือและตารางการหักเงิน ในรายงาน หน้า 23,24 

[5] ดังที่กล่าวไว้ในรายงาน หน้า 34 

[6] คำแนะนำอื่น ๆ อยู่ในรายงาน หน้า 48 

Humpback Whale in the Indian Ocean. © Paul Hilton / Greenpeace
ร่วมผลักดันเขตคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเลในมหาสมุทรโลก

ด้วยวิกฤตหลายๆด้านที่กำลังคุกคามมหาสมุทร เราจึงจำเป็นต้องปกป้องมหาสมุทรโลกอย่างน้อย 1 ใน 3 ส่วนภายในปี พ.ศ.2573 

มีส่วนร่วม