จุดเช็คอินใน อ.แม่ทะ จ.ลำปาง

บ้านบอมพัฒนา

ตั้งอยู่ในหมู่ที่ 6 ในเขตตำบลบ้านบอม ชัยภูมิที่รับน้ำสำคัญที่มีน้ำห้วยหลายสายหลายผ่าน ผู้เฒ่าเล่าขานถึงการตั้งชื่อหมู่บ้านว่าตั้งตามลำห้วย “แม่บอม” ที่ไหลผ่านพื้นที่ บ้านบอมมีสถานที่ท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมมที่โดดเด่นหลายหลายแห่ง อย่างดอยม่อนธาตุสามารถชมวิวธรรมชาติโดยรอบในมุมสูงอีกแห่งหนึ่งของอำเภอแม่ทะ นอกจากนั้นแล้วยังมีสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ อย่างอ่างเก็บน้ำสำคัญ เช่น อ่างแม่วะ และอ่างแม่ก๋อง

โรงสีข้าวชุมชน

หนึ่งในวิสาหกิจชุมชนของบ้านกิ่ว ที่นี่เป็นโรงสีที่ใหญ่ที่สุดในตำบลและละแวกใกล้เคียงนี้ คนในชุมชนมักจะนำข้าวมาสีมากในหนึ่งในวิสาหกิจชุมชนของบ้านกิ่ว ที่นี่เป็นโรงสีที่ใหญ่ที่สุดในตำบลและละแวกใกล้เคียงนี้ คนในชุมชนมักจะนำข้าวมาสีมากในช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่ลูกหลานหยุดงานกลับมาเยี่ยมบ้านได้นำกลับไปทานในช่วงเทศกาลหยุดยาวสำคัญและช่วงหลังฤดูกาลเก็บเกี่ยว

ปางวัว

หนึ่งในพื้นที่สำคัญที่มีการใช้ประโยชน์ร่วมกันของคนในชุมชนแม่ทะ กลุ่มคนเลี้ยงวัวจากหลายหมู่บ้านใช้พื้นที่ปางวัวเป็นที่พักในป่า วัวจะถูกขังอยู่ในคอกวัวชั่วคราวในช่วง ฤดูกาลเพาะปลูกจนถึงเก็บเกี่ยวผลผลิตเสร็จสิ้นโดยมีการเลี้ยงวัวในพื้นที่ป่าและปางวัวจะต้องมีสภาพแวดล้อมโดยรอบที่ใกล้แหล่งน้ำซึ่งวัวสามารถกินหญ้าตามธรรมชาติในละแวกนั้นได้

อ่างแม่ก๋อง

การจัดสรรน้ำจากอ่างเก็บน้ำห้วยแม่ก๋องไปยังที่นาของ “ลูกด้าม” หรือ “เจ้าของที่นา” ซึ่งมีอยู่ทั้งหมดเกือบ 50 ราย ชาวบ้านใช้ประโยชน์จากอ่างเก็บน้ำเพื่อทำเกษตรเป็นหลัก มีพึ่งพาน้ำฝนบ้างเฉพาะการทำไร่ข้าวโพด แต่ช่วงระยะ 5-6 ปีที่ผ่านมา เกิดภาวะภัยแล้ง ส่งผลกระทบต่อการทำเกษตรทุกรูปแบบ

ปัจจุบัน คณะกรรมการจัดการน้ำของอ่างเก็บน้ำแม่ก๋องแบ่งออกเป็น 2 ชุดตามสายประตูน้ำที่ต่อเป็นท่อไส้ไก่ไปยังที่ดินทำกิน สายน้ำหนึ่งสายมีคณะกรรมการจัดการน้ำประจำสายประมาณ 12-13 คน/ชุด ดูแลเรื่องการจัดสรรน้ำไปยังที่นาของ “ลูกด้าม” หรือ “เจ้าของที่นา” โดยมีการจัดเก็บค่าน้ำสำหรับชาวบ้านที่ใช้น้ำจากอ่างเก็บน้ำห้วยแม่ก๋องเพื่อการเกษตรไร่ละ 100 บาทต่อปี

บ่อนเห็ด

ดอยแม่ก๋อง ผืนป่าที่อุดมสมบูรณ์แห่งนี้ของบ้านบอมเขตรอยต่อบ้านกิ่วเต็มไปด้วยเห็ดนานาชนิดที่เป็นแหล่งอาหารสำคัญของดอยแม่ก๋อง ผืนป่าที่อุดมสมบูรณ์แห่งนี้ของบ้านบอมเขตรอยต่อบ้านกิ่วเต็มไปด้วยเห็ดนานาชนิดที่เป็นแหล่งอาหารสำคัญของคนในชุมชนแม่ทะ รวมถึงผู้ที่สัญจรผ่านเส้นทางนี้มักจะแวะจอดซื้อเห็ดริมทางกับโต๊ะเห็ดที่บ้านกิ่ว โต๊ะเห็ดเป็นสะท้อนว่าเห็ดคือของดีประจำถิ่นที่ขึ้นชื่อ และคนจากหลายชุมชนมีรายได้เสริมตลอดฤดูกาล

ครั่ง

เก๊าฉำฉา หรือเก๊าสา คือคำที่ใช้เรียกต้นจามจุรี นิยมปลูกไว้ตามหัวไร่ปลายนาเพื่อ “ปล่อยครั่ง” หรือเลี้ยงครั่งเป็น​​อาชีพเสริมโดยชาวบ้านจะนำเชื้อพันธุ์ครั่ง (เป็นเพลี้ยชนิดหนึ่ง) ไปปล่อยไว้บนต้น จากนั้นพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ที่เจริญเติบโตตามธรรมชาติจะผลิตยางชันหรือยางครั่งออกมาเป็นก้อนเกาะอยู่ตามกิ่งฉำฉา ชาวบ้านจะเก็บครั่งไปขายให้กับโกดังรับซื้อ ครั่งเป็นสินค้าที่มีราคาสูงและยังเป็นที่ต้องการของตลาดโลก ในชุมชนแม่ทะยังพบเห็นการเลี้ยงครั่งในหลายพื้นที่ แต่ด้วยวิกฤตสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้การเลี้ยงครั่งไม่ได้ผลผลิตเหมือนเดิม ชาวบ้านบางส่วนจึงเลิกอาชีพเลี้ยงครั่ง แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังมีความหวังว่าหากสภาพอากาศดีขึ้น ชาวบ้านจะกลับมาเลี้ยงครั่งและมีรายได้เสริมจากครั่งเหมือนเดิม

หอไหว้ผี

นอกจากน้ำจะเป็นแหล่งหล่อเลี้ยงชีวิตให้ชาวบ้านสามารถทำกินและพึ่งพาตัวเองได้ น้ำยังเป็นแหล่งรวมความเชื่อทางจิตวิญญาณของชุมชน ทุกปีก่อนเริ่มการเพาะปลูกข้าว (ช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม) ชาวบ้านจะจัดพิธีกรรมสืบชะตาน้ำร่วมกัน เพื่อขอให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล และให้ครอบครัวอยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุข

การผลิตในภาคเกษตรกรรมของชุมชน

ฐานทรัพยากรสะท้อนของดีชุมชนแม่ทะ วิถีการผลิตส่วนใหญ่ของชุมชนเกี่ยวข้องภาคการเกษตรที่มีฐานจากความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติโดยรอบ อันเป็นปัจจัยเอื้อที่สำคัญสำหรับการผลิตแหล่งอาหารของชุมชนในพื้นที่ตำบลบ้านบอมและบ้านกิ่ว และส่งผลโดยรวมต่อสภาพเศรษฐกิจของคนในชุมชน

หนองหลวง

ในช่วงฤดูฝนจนถึงปลายปี ชาวบ้านจะมีรายได้เสริมจากการหากบ เขียด อึ่งอ่างไปขาย

ไฮ่เหล่า

พื้นที่ไร่ที่มีหญ้าขึ้นเป็นป่าตามธรรมชาติเพราะอยู่ในช่วงเว้นการเพาะปลูก ในอดีตชาวบ้านปลูก “ปัจจัยสี่” เพื่อใช้ในครัวเรือนทั้งอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรคอย่างสมุนไพร เช่น ไพล สามารถหาได้ในบริเวณ “ห้วยร่องปูเลย” (ปูเลยคือคำภาษาเหนือ ใช้เรียกไพล) ซึ่งการตั้งถิ่นฐานของชุมชนนี้เกิดขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยปี จากคำบอกเล่าของผู้อาวุโสถึงวิถีชีวิตการทำไร่และเลี้ยงสัตว์เทียมเกวียนในพื้นที่เชิงเขา (เหนืออ่างแม่ก๋องในปัจจุบัน) วัวควายเป็นแรงงานสำคัญในการลากจูงล้อเกวียนบรรทุกไม้ในพื้นที่ราบสูง


Hazibition : นิทรรศการใต้ฝุ่น เปิดต้นตอปัญหาฝุ่นควัน