สถานะ เจ้าของโครงการกำลังจะมีการจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม EIA 

แอ่งแม่ทะซึ่งเป็นแหล่งถ่านหินที่ยังไม่ได้พัฒนาในเขตอำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปางมีปริมาณสำรองถ่านหินราว 22.49-55 ล้านตัน จนถึงปัจจุบัน มีการสำรวจพื้นที่กว่า 900 ไร่ ในตำบลบ้านบอม เพื่อขอสัมปทานเหมืองลิกไนต์ไปใช้ในกระบวนการผลิตปูนซีเมนต์ที่ดำเนินการโดยบริษัทปูนซีเมนต์ไทย (ลำปาง) จำกัด  แท้จริงแล้ว บริษัทได้ทำการสำรวจแอ่งแม่ทะมาตั้งแต่ ปี 2547 เพื่อขอสัมปทานพื้นที่ทำเหมืองลิกไนต์รวมกันกว่า 958.50 ไร่

เทียบกับแผนการขุดเจาะพื้นที่ทำเหมืองถ่านหินในภาคเหนือ เช่น อมก๋อย เป็นต้น โครงการเหมืองถ่านหินแม่ทะมีข้อได้เปรียบเทียบในเรื่องการลดต้นทุน เนื่องจากมีเส้นทางการขนส่งถ่านหินจากเหมืองไปยังโรงงานผลิตปูนซีเมนต์ที่ใกล้ที่สุด

ในวันที่ 6 กันยายน 2562 สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดลำปางได้จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นของชุมชน ครั้งที่ 1 ในเรื่องการเปิดเหมืองถ่านหิน ประเภทที่ 3 ตามคำขอประทานบัตรที่ 7/2561, 8/2561, 9/2561, 10/2561  หมายเลขเขตเหมืองแร่ที่ 30542 ในพื้นที่หมู่ 6 ตำบลบ้านบอม อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง ซึ่งเป็นชุมชนที่อาศัยรอบพื้นที่ขอประทานบัตรในรัศมี 1 กิโลเมตร ในการจัดเวทีดังกล่าวมีนายอำเภอ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากเป็นวันทำงาน จึงมีผู้เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็นอยู่ในกลุ่มวัยกลางคนและผู้สูงอายุเข้าร่วมเป็นส่วนใหญ่ 

ต่อมา ชาวบ้านแม่ทะปักหลักต้านเหมืองถ่านหิน จากความตระหนักถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับวิถีชีวิต สุขภาพ และสิ่งแวดล้อม โดยติดป้ายประท้วงตามสถานที่ต่างๆ และสร้าง facebook page “คนแม่ทะไม่เอาเหมืองแร่” เป็นเวทีสื่อสารสาธารณะในโลกออนไลน์ รวมถึงมีการจัดเวทีให้ความรู้แก่ชุมชนคู่ขนานในเรื่องผลกระทบของเหมืองถ่านหิน (วันที่ 8 พฤศจิกายน 2562) ชาวบ้านแม่ทะยังส่งหนังสือร้องเรียนไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อชี้ให้เห็นว่าการทำประชาพิจารณ์ขาดความชัดเจนและไม่ชี้แจงรายละเอียดถึงผลกระทบของโครงการอย่างรอบด้าน

ข้อกังวลของชุมชนต่อผลกระทบจากโครงการเหมืองถ่านหินแม่ทะ

Hazibition : นิทรรศการใต้ฝุ่น เปิดต้นตอปัญหาฝุ่นควัน