ผลกระทบจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศ

วิกฤตสภาพภูมิอากาศกำลังก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้คนและระบบนิเวศ หากเราไม่สามารถรักษาอุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกไว้ที่ 1.5 องศาเซลเซียส (เทียบกับระดับก่อนยุคอุตสาหกรรม) ได้  คลื่นความร้อนสุดขั้ว จะกลายเป็นความปกติใหม่ในช่วงฤดูร้อนของหลายๆประเทศที่อยู่ในเขตร้อน ซึ่งโดยทั่วไปมีอากาศที่ร้อนอยู่แล้ว 

หากอุณภูมิเพิ่มขึ้นอีก 2 องศาเซลเซียส เราจะอาศัยอยู่ในประเทศเขตร้อนไม่ได้เลย และประชากรกว่า 420 ล้านคนจะเผชิญกับผลกระทบรุนแรง

Heat Wave in Seoul. © Soojung Do / Greenpeace

เรากำลังอยู่ในวิกฤตสภาพภูมิอากาศ

ในช่วงฤดูร้อนของไทย อุณหภูมิสูงสุดในแต่ละวันอาจทะลุไปมากกว่า 40 องศา เมื่อใช้แถบสี(Climate Stripe) จะเห็นการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิเฉลี่ยพื้นผิวระยะยาวในประเทศไทยซึ่งชี้ชัดว่าภาวะโลกร้อนเกิดขึ้นจริง

แถบสีแสดงการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิเฉลี่ยระยะยาวของประเทศไทย (พ.ศ.2383 – 2563)

ปัจจุบัน อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีของไทยอยู่ที่ 26 องศาเซลเซียส การศึกษาในปี 2563 คาดการณ์ว่าอุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีของไทยจะเท่ากับของทะเลทรายซาฮาราภายในปี 2613 โดยสูงมากกว่า 29 องศาเซลเซียส ทำให้ไทยร้อนเกินกว่าที่จะอาศัยอยู่ได้ตลอดทั้งปี


ระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้นอีกราวร้อยละ 15

แผ่นน้ำแข็งละลายเป็นน้ำ มวลน้ำทะเลอุ่นขึ้นและขยายปริมาตร การเปลี่ยนแปลงในเขตอาร์กติกและมหาสมุทรทำให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับระดับที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ประชากรกว่า46ล้านคนที่อาศัยตามแนวชายฝั่งทะเลทั่วโลกจะอยู่อาศัยในพื้นที่ที่มีน้ำท่วมถาวรจากระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น

จากรายงานของกรีนพีซ เอเชียตะวันออกระบุว่าไทยมีความเสี่ยงจากระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น


Global Climate Strike in Bangkok. © Chanklang  Kanthong / Greenpeace

กรีนพีซเรียกร้องการกู้วิกฤตสภาพภูมิอากาศ

การไปให้ถึงเป้าหมาย เรารณรงค์ให้โลกต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงครึ่งหนึ่งภายในปี พ.ศ.2573 และลดลงเป็นศูนย์ในปี พ.ศ. 2593 โดย

ลด ละ เลิกการใช้ถ่านหิน – รายงานทางวิทยาศาสตร์ระบุว่า การใช้ถ่านหินทั่วโลกต้องลดลง 2 ใน 3 ภายในปี พ.ศ.2573 และเกือบเป็นศูนย์ภายในปี พ.ศ.2593

การใช้พลังงานที่ชาญฉลาดขึ้น – การใช้พลังงานและการผลิตไฟฟ้าแบบ คาร์บอนต่ำในภาคการขนส่ง ภาคอุตสาหกรรม และภาคเมืองคือองค์ประกอบสำคัญของการเปลี่ยนผ่านเชิงระบบ

เปลี่ยนแปลงระบบอาหาร –โดยสนับสนุนการเกษตรกรรมยั่งยืนที่เน้นผลิตพืชผักมากขึ้น และมุ่งลดการบริโภคเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากนมที่มาจากการปศุสัตว์เชิงอุตสาหกรรมลงร้อยละ 50 ภายในปี พ.ศ.2593- ปกป้องผืนป่าโดยมุ่งลดการทำลายป่าไม้ให้เป็นศูนย์ – ป่าไม้และที่ดินมีบทบาทสำคัญต่อเป้าหมายการจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกไว้ที่ 1.5 องศาเซลเซียส รวมถึงการดูแลผืนป่าที่มีอยู่และการอนุรักษ์ดินเพื่อขยายศักยภาพในการกักเก็บและดูดซับคาร์บอน


ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับวิกฤตสภาพภูมิอากาศ