ข้อเสนอของกรีนพีซในการจัดการมลพิษทางอากาศ PM2.5

การตื่นตัวกับวิกฤต PM2.5 อาจเป็นโอกาสที่จะช่วยให้คุณภาพอากาศของประเทศไทยดีขึ้น กรีนพีซยังคงเรียกร้องต่อกรมควบคุมมลพิษให้เกิดการยกระดับคุณภาพอากาศของประเทศไทยเพื่อคุ้มครองชีวิตของประชาชน เพราะแม้ว่ากรมควบคุมมลพิษจะนำ PM2.5 เข้ามาคำนวณในดัชนีคุณภาพอากาศของประเทศไทยตามข้อเรียกร้องของกรีนพีซแล้ว แต่เรายังคงยืนยันและผลักดันให้รัฐบาลกำหนดนโยบายที่เข้มแข็งมีประสิทธิภาพเพื่อปกป้องชีวิตผู้คนจากมลพิษทางอากาศ ดังต่อไปนี้

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

กระทรวงสาธารณสุข

กรมควบคุมมลพิษและกรมโรงงานอุตสาหกรรม

กระทรวงพลังงาน กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสภาอุตสาหกรรมยานยนต์

การจราจรบริเวณแยกอโศกตัดกับถนนเพชรบุรี ในวันที่กรุงเทพมหานครมีฝุ่นละอองคล้ายหมอกควันปกคลุมในหลายพื้นที่
ในวันนี้กรมควบคุมมลพิษได้รายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองในพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑลว่าบริเวณพื้นที่ริมถนน 20 พื้นที่ มีคุณภาพอากาศอยู่ในระดับเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ โดยตรวจวัดได้ที่ 56-103 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และพื้นที่ทั่วไป 14 พื้นที่ อยู่ในระดับเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพถึงมีผลกระทบต่อสุขภาพ โดยตรวจวัดได้ที่ 55-96 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และแนะนำให้ประชาชนหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมการแจ้ง และสวมใส่หน้ากากอนามัยหากมีความจำเป็นต้องอยู่กลางแจ้ง

นอกจากนี้ กรีนพีซเสนอให้กรมควบคุมมลพิษยกร่างมาตรฐาน PM2.5 ในบรรยากาศสำหรับประเทศไทย โดยมีเป้าหมายที่เจาะจง(specific) วัดได้(measurable) ทำได้(Attainable) สอดคล้องกับเป้าหมายใหญ่(Relevant) โดยเฉพาะเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน(SDGs) และมีกรอบเวลาที่ชัดเจน(Time-bound) ดังนี้

กรอบเวลา

มาตรฐาน PM2.5 (ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร)สำหรับประเทศไทย

ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง

ค่าเฉลี่ย 1 ปี

หมายเหตุ

ปี พ.ศ.2553

50

25

ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติฉบับที่ 36

ปี พ.ศ.2562

35

12

ค่าที่ป้องกันผลกระทบสุขภาพได้มากที่สุดจากการศึกษาของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่ทำขึ้นในปี 2547

ปี พ.ศ.2573

25

10

ตามข้อแนะนำขององค์การอนามัยโลกและ กรอบเวลาตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals)

นอกจากการยกระดับมาตรฐานคุณภาพอากาศแล้ว การออกมาตรการควบคุมการปล่อยมลพิษทางอากาศก็ควรเป็นประเด็นที่ภาครัฐต้องจัดการควบคู่ไปด้วย ปัจจุบันเมืองใหญ่ในหลายๆประเทศก็มีการออกนโยบาย กฎหมาย เพื่อควบคุมการปล่อยมลพิษทางอากาศในหลากหลายรูปแบบ เช่นการจัดการมลพิษทางอากาศด้วยวิถี “เมืองยั่งยืน”

ตัวอย่างการควบคุมการปล่อยมลพิษทางอากาศในเชิงปฏิบัติของแต่ละประเทศข้างต้นนั้นแสดงให้เห็นว่าหลายๆประเทศกำลังต่อกรกับปัญหามลพิษทางอากาศในระยะยาว ทั้งการส่งเสริมการใช้ขนส่งสาธารณะที่ทีราคาถูกและประสิทธิภาพสูง การสนับสนุนการใช้จักรยานเพื่อลดจำนวนรถยนต์ส่วนตัว หรือการวางแผนลดรถยนต์ส่วนตัวด้วยการห้ามขายรถยนต์ดีเซล ไปจนกระทั่งการปิดโรงไฟฟ้าถ่านหินเพื่อลดมลพิษทางอากาศ

สำหรับการป้องกันตัวเองจากมลพิษทางอากาศนั้น กรีนพีซได้จัดทำ คู่มืออากาศสะอาด (Unmask Our Cities) เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลสำหรับเราทุกคนในการเรียนรู้ที่จะป้องกันสุขภาพจากฝุ่นพิษ PM2.5

Hazibition : นิทรรศการใต้ฝุ่น เปิดต้นตอปัญหาฝุ่นควัน