All articles

  • มายาคติ: แผงโซลาร์เป็นอันตรายเพราะมีส่วนผสมของวัสดุที่เป็นพิษจำนวนมาก

    ผลการวิจัยยังชี้ว่ามลพิษที่เกิดจากพลังงานหมุนเวียนอย่างพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม และพลังงานน้ำนั้นน้อยกว่ามลพิษที่เกิดจากพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลอย่างมหาศาล โดยส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในระดับที่น้อยมากแม้ว่าจะต้องใช้วัตถุดิบจำนวนมากก็ตาม

    Greenpeace Thailand 4 min read
  • มายาคติ: พลังงานหมุนเวียนทำให้ค่าไฟฟ้าสูงขึ้น

    กล่าวโดยง่ายคือยอดค่าใช้จ่ายในการใช้ไฟฟ้าของผู้บริโภคนั้นไม่สามารถนำมาเทียบกับประเด็นดังกล่าวได้ เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการใช้ไฟฟ้าแปรผันไปตามค่าบริการและขอบเขตปัจจัยที่ต่างกันไปในแต่ละประเทศ

    Greenpeace Thailand 4 min read
  • มายาคติ: ค่าใช้จ่ายแบตเตอรีในการกักเก็บพลังงานหมุนเวียนนั้นแพงเกินไป และมีความจุไม่เพียงพอ

    วิธีกักเก็บพลังงานไม่ได้มีเพียงแค่การใช้แบตเตอรี การกักเก็บพลังงานสำรองสามารถใช้เทคโนโลยีได้มากมายและมีวิธีการหลากหลายรูปแบบ ทั้งการใช้น้ำแบบสูบกลับ ไฮโดรเจน และการสะสมความร้อน แต่เมื่อคนทั่วไปกล่าวถึงค่าใช้จ่ายในการกักเก็บพลังงาน พวกเขามักจะหมายถึงค่าใช้จ่ายในการใช้แบตเตอรี อย่างไรก็ดี ค่าใช้จ่ายในการใช้แบตเตอรีเองก็ลดลงอย่างรวดเร็วในช่วงปีที่ผ่านมาพร้อมๆกับราคาแผงโซลาร์ที่ลดลงเช่นเดียวกัน

    Greenpeace Thailand 3 min read
  • มายาคติ: พลังงานหมุนเวียนไม่สามารถนำมาใช้ได้เร็วพอกับความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น

    การคาดการณ์ที่ผิดพลาดมาโดยตลอดในช่วง 15 ปี ที่ผ่านมา พลังงานหมุนเวียนขยายตัวอย่างรวดเร็วเหนือความคาดหมายของใครหลายๆคน รวมถึงกลุ่มที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญอย่างบริษัทบีพี (BP) และทบวงพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) (ดูที่ figure 4) โดยสถิติชี้ว่า   ในช่วงระหว่างปี 2551-2559 ที่สหรัฐอเมริกา มีการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมเพิ่มขึ้นถึงสี่เท่าตัว ในขณะที่การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อการใช้สอยเองก็เพิ่มขึ้นถึง 40 เท่า ในปี 2559 เพียงปีเดียว จีนได้ติดตั้งแผงโซลาร์มากถึง 34 กิกะวัตต์ เกือบสองในสามของกำลังผลิตไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นมาในปี 2559 มาจากพลังงานหมุนเวียน…

    Greenpeace Thailand 4 min read
  • มายาคติ: พลังงานหมุนเวียนเป็นทางเลือกของคนรวยเท่านั้น อย่างไรเสียถ่านหินก็เหมาะสมกว่าในการผลิตไฟฟ้าในประเทศยากจน

    เรื่องนี้นับเป็นข้อโต้แย้งหลักที่อุตสาหกรรมถ่านหินมักยกขึ้นมาใช้ แต่อย่างไรก็ดี คำกล่าวอ้างนี้ได้ถูกลบล้างโดยผลการวิจัยมากมาย แม้กระทั่งทบวงพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) ซึ่งเคยประเมินการเติบโตของพลังงานหมุนเวียนไว้ต่ำกว่าความเป็นจริงมาโดยตลอด ยังกล่าวว่าพลังงานหมุนเวียนจะช่วยให้ผู้คนมีไฟฟ้าใช้ได้มากกว่าถ่านหิน ถ่านหินไม่ใช่แค่ไม่ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนยากไร้ให้ดีขึ้นเท่านั้น แต่ยังขังพวกเขาไว้ให้อยู่สภาพที่ย่ำแย่เช่นเดิม โดยรายงานฉบับหนึ่งของอ็อกซ์แฟมในปี 2560 ได้กล่าวไว้อย่างชัดเจนว่า: “ยิ่งมีการใช้ถ่านหินมากเท่าใด ยิ่งทำให้ผู้คนจำนวนมากขึ้นต้องตกอยู่ในสภาพยากไร้ ทั้งจากผลกระทบร้ายแรงของความเปลี่ยนแปลงในสภาพภูมิอากาศ และความสูญเสียโดยตรงจากการทำเหมืองและการเผาไหม้ถ่านหินที่มีต่อชุมชน ไม่ว่าจะเป็นการสูญเสียพื้นที่ทำกิน มลพิษ และสุขภาพที่เสื่อมโทรมลง” การพัฒนาที่ยั่งยืน การเข้าถึงแหล่งพลังงานที่มั่นคงและราคาจับต้องได้เป็นหนึ่งในเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDGs) ซึ่งถ่านหินไม่อาจทำให้ได้ อีกทั้งยังขัดกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนอื่นๆอย่างการมีสุขอนามัยที่ดีและการเข้าถึงแหล่งน้ำสะอาดอีกด้วย ในขณะที่พลังงานหมุนเวียนนั้นอาจช่วยให้ไปถึงเป้าหมายการพัฒนายั่งยืนนี้ได้ทั้งหมด หรืออาจกล่าวได้ว่าการใช้พลังงานหมุนเวียน 100%คือหนทางเดียวที่เราจะบรรลุเป้าหมายดังกล่าวได้สำเร็จทุกประการ ที่มา: World Future…

    Greenpeace Thailand 4 min read
  • มายาคติ: พลังงานหมุนเวียนต้องมีการอุดหนุนทางการเงินที่ไม่เป็นธรรมจำนวนมหาศาล

    ไม่ว่าจะเป็นพลังงานใดก็ตามต่างก็ต้องอาศัยเงินอุดหนุนทั้งสิ้น ทั้งในรูปแบบของเครดิตภาษี การรับประกันราคา การวิจัยและพัฒนา (R&D) หรือค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนและทำความสะอาดต่างๆ ฯลฯ โดยพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลนั้นเป็นพลังงานที่ได้รับเงินอุดหนุนในสัดส่วนที่มากที่สุด อีกทั้งยังได้รับผลประโยชน์จากการสนับสนุนของรัฐบาลมาทุกยุคทุกสมัย

    Greenpeace Thailand 4 min read
  • พลังงานหมุนเวียน 100% กระบี่ทำได้แน่ หากมีการสนับสนุนจากผู้กำหนดนโยบาย

    “ภายในปี 2569 ถ้าไม่ถูกกีดกัน กระบี่จะสามารถพึ่งตนเองด้วยพลังงานหมุนเวียน 100% ตลอด 24 ชม ตลอดทั้งปี และปี 2564 ก็สามารถเริ่มได้แล้ว 100% ในบางชั่วโมง ทุกคนทำได้ และช่วยทำให้เกิดขึ้นจริงได้” คุณศุภกิจ นันทะวรการ นักวิจัยพลังงานและอุตสาหกรรม มูลนิธินโยบายและสุขภาวะ หนึ่งในคณะทำงาน Krabi Goes Green

  • Krabi goes green

    พบว่าจังหวัดกระบี่มีศักยภาพกำลังผลิตติดตั้งได้สูงสุดรวม 1,676 เมกะวัตต์ และสามารถเป็นจังหวัดต้นแบบที่ใช้พลังงานไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนได้อย่างสมบูรณ์ 100%

    Greenpeace Thailand
  • กระบี่สามารถมีระบบพลังงานหมุนเวียน 100% ได้ภายในปี พ.ศ. 2569

    กระบี่สามารถเป็นผู้นำเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานหมุนเวียนในประเทศไทยและบรรลุเป้าหมายระบบพลังงาน หมุนเวียน 100% ได้ภายในปี 2569 รายงานที่ทำขึ้นโดยเครือข่ายปกป้องอันดามันจากถ่านหิน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มูลนิธินโยบายสุขภาวะ และกรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ระบุว่าวิสัยทัศน์นี้ทำให้เกิดขึ้นจริงได้โดยระบบพลังงานแบบผสมผสานจากชีวมวล แก๊สชีวภาพ แสงอาทิตย์ ลม และพลังงานน้ำขนาดเล็กที่จัดการโดยระบบสายส่งอัจฉริยะ (smart grid)

    Greenpeace Thailand 3 min read
  • การจ้างงานพลังงานหมุนเวียนในประเทศไทย

    รายงานการเปรียบเทียบการจ้างงานโดยตรงของพลังงานหมุนเวียนแต่ละประเภทจะพิจารณา อัตราการจ้างงานโดยตรงคิดเป็นตำแหน่งงานต่อการผลิตไฟฟ้าหนึ่งล้านหน่วย (หรือ 1 GWh)

    Greenpeace Thailand