กิจกรรม Rainbow Warrior Ship Tour 2024

เรือรณรงค์ของกรีนพีซเป็นสัญลักษณ์ของการเผชิญหน้าอย่างสันติวิธี เป็นสัญญาณแห่งความหวัง และเป็นเอกลักษณ์ในการทำงานเพื่อปกป้องสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรนับตั้งแต่ก่อตั้งในปี 2514

เราใช้เรือเป็นแนวหน้าในการขับเคลื่อนงานรณรงค์ในหลายรูปแบบ โดยเรือสามารถเดินทางไปยังน่านน้ำต่าง ๆ เพื่อเป็นประจักษ์พยานในที่เกิดเหตุ ทำวิจัย ทำการสื่อสารประเด็นสิทธิและสิ่งแวดล้อม หรือแม้แต่ใช้เป็นเวทีในการเจรจา โดยมีเป้าหมายในการยุติการทำลายล้างสิ่งแวดล้อม 

The Rainbow Warrior on the Great Barrier Reef. © Jeff Tan / Greenpeace

เรือเรนโบว์ วอร์ริเออร์มาทำอะไรครั้งนี้ ?

Rainbow Warrior Open Boat in Phuket. © Baramee  Temboonkiat / Greenpeace

เรือเรนโบว์ วอร์ริเออร์มาไทยครั้งนี้เพื่อทำกิจกรรมภายใต้แคมเปญ Ocean Justice ซึ่งสนับสนุนการทำงานร่วมกับชุมชนชายฝั่ง เพื่อเรียกร้องให้เกิดการมีส่วนรวมในการจัดการทรัพยากรชายฝั่งและการปกป้องคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเล ในกิจกรรมครั้งนี้ เราจะสื่อสารสารธารณะถึงวิกฤตสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้น ความสำคัญของการสร้างเขตคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเล เพื่อปกป้องระบบนิเวศและความมั่นคงทางอาหาร

นอกจากนี้ เรายังร่วมมือกับชุมชนชายฝั่งและนักวิชาการในการทำวิจัย และนำข้อมูลเหล่านี้กำหนดพื้นที่คุ้มครองระบบนิเวศทางทะเลที่ชุมชนมีส่วนร่วม

กิจกรรมของเรือเรนโบว์ วอร์ริเออร์ในไทย

กรุงเทพมหานคร เรือเรนโบว์ วอร์ริเออร์จะเป็นพื้นที่ในการสื่อสารวิกฤตทางทะเล ซึ่งเป็นผลมาจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศ การทำประมงทำลายล้าง และมลพิษจากภาคอุตสาหกรรม รวมถึงประเด็นสิทธิของชุมชนชายฝั่ง ซึ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากปัญหาสิ่งแวดล้อมข้างต้น 

ทอดสมอที่ ชุมพรและ สงขลา เราจะมีการทำวิจัยร่วมกับชุมชนและนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เพื่อมองหาความเป็นไปได้ในการขีดเส้นและขยายพื้นที่คุ้มครองระบบนิเวศทางทะเลซึ่งชุมชนมีส่วนร่วมในการออกแบบและดูแลอย่างแท้จริง รวมไปถึงบันทึกความสวยงามและอุดมสมบูรณ์ของทะเลไทยมีการบันทึกความสวยงามและอุดมสมบูรณ์ใต้ท้องทะเล

Manta Net Microplastics Sampling in Greece. © Constantinos Stathias / Greenpeace
'Fish Fairly' Global Week of Action Aboard the Rainbow Warrior. © Greenpeace / Emili Trasmonte

ศักยภาพของเรือรณรงค์กรีนพีซ

แม้เรือเรนโบว์ วอร์ริเออร์จะเป็นที่รู้จักในการทำกิจกรรมเผชิญหน้าด้วยสันติธิวิธี แต่แท้จริงแล้ว เรือสามารถทำกิจกรรมได้หลากหลาย เช่น การใช้เรือเข้าไปในสถานที่ที่เครื่องบินหรือการเดินทางทางอื่นไม่สามารถเข้าถึงได้เพื่อทำวิจัย ยกตัวอย่างเช่น การทำวิจัยในพื้นที่แอนตาร์กติกา หรือการใช้เรือเป็นพื้นที่ในการสื่อสารประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม

เรือเรนโบว์ วอร์ริเออร์เป็นเรือใบและใช้ลมในการขับเคลื่อนเป็นหลักเพื่อให้เกิดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ระบบขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าของเรือทำให้มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์น้อยกว่าและยังสามารถพลังงานมาใช้ภายในเรือ ขณะที่ระบบน้ำมันถูกดัดแปลงให้มีไม่มีการรั่วไหลลงทะเล ในอนาคตเราตั้งเป้าหมายที่จะให้เรือทุกลำของเราเป็นเรือพลังงานสะอาด และลดการให้พลังงานน้ำมันให้มากที่สุด


เกี่ยวกับงานรณรงค์ Ocean Justice

หนึ่งในแคมเปญรณรงค์ด้านทะเลและมหาสมุทรระดับโลกของกรีนพีซ ที่ให้ความสำคัญกับประเด็นการจัดการทรัพยากรชายฝั่ง สิทธิชุมชนชายฝั่งที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศ อุตสาหกรรมประมงทำลายล้าง และอุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดมลพิษต่อทะเล รวมถึงการสร้างพื้นที่คุ้มครองระบบนิเวศทางทะเล โดยใช้ความรู้ชุมชนร่วมกับความรู้เชิงวิชาการในการออกแบบนโยบายพัฒนาพื้นที่ ทั้งหมดนี้เพื่อปกป้องระบบนิเวศทางทะเล ความมั่นคงทางอาหาร และชีวิตของผู้คนนับล้านที่พึ่งพิงทรัพยากรชายฝั่ง

Coral Reef Nauru in the Pacific Ocean. © Paul Hilton / Greenpeace
© Paul Hilton / Greenpeace

พื้นที่คุ้มครองทางทะเล (Marine Protected Areas) คือพื้นที่ทั้งในทะเลและบริเวณชายฝั่งที่ถูกกำหนดขอบเขตขึ้นเพื่อคุ้มครองหรือฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพ รวมทั้งเพื่อปกป้องประเพณี วัฒนธรรม ความเป็นอยู่ของผู้คนในบริเวณนั้นด้วย ในประเทศไทยแม้จะไม่ได้มีนิยาม พืนที่คุ้มครองทางทะเล หรือ MPAs โดยเฉพาะแต่ก็มีพื้นที่คุ้มครองทางทะเลที่มีกฏหมายควบคุม เช่น อุทธยานแห่งชาติ เขตสงวนและคุ้มครองทรัพยากร เป็นต้น  

MPAs ไม่ได้เป็นเพียงเครื่องมือการบริหารจัดการเดียวที่ใช้คุ้มครองพื้นที่ทางทะเลและชายฝั่ง แต่ยังมีเครื่องมืออื่นๆ เช่น เครื่องมือทางนโยบายอย่างการวางแผนเชิงพื้นที่ทางทะเล  (Marine spatial planning)  แนวคิดการอนุรักษ์เชิงพื้นที่ (Area Based Conservation) อื่นๆ หรือกลไกจาก พรบ.ส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ.2558 เป็นต้น

ทำไมต้องมีพื้นที่คุ้มครองที่ทะเลชุมพรและทะเลจะนะ

ทะเลทั้งสองพื้นที่กำลังเผชิญกับภัยคุกคามทั้งจากแผนการสร้างโครงการอุตสาหกรรม และการทำประมงทำลายล้าง การเกิดเขตพื้นที่คุ้มครองทางทะเลจะช่วยให้มีความชัดเจนในการดูแลทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง และมีความชัดเจนในเรืองการจัดการ วางแผนอนุรักษ์และใช้ประโชน์ การจัดสรรการสนับสนุน  การมีส่วนร่วมของชุมชน และช่วยปกป้องพื้นที่จากภัยคุกคาม รวมทั้งปัญหาสภาวะโลกร้อน ซึ่งจะมีผลต่อระบบนิเวศโดยรวมอื่นๆที่เชื่อมโยงกับทะเล 

Female Fishers in Chana. © Songwut Jullanan / Greenpeace

ดังที่กล่าวไป เครื่องมือในการคุ้มครองระบบนิเวศมีหลากหลาย แต่ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือหรือรูปแบบใด การมีส่วนร่วมของชุมชนนับว่าเป็นหนึ่งในกลไกที่สำคัญที่สุดที่จะทำให้การดูแลคุ้มครองพื้นที่เหล่านั้นเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพตามเจตนารมของเครื่องมือ ทั้งในแง่การดูแลและบังคับใช้กฏหมาย กฏ กติกา การลดความขัดแย้งระหว่างชุมชนเองและชุมชนกับรัฐ และการพัฒนาคนพัฒนาบุคลากรเพื่อเสริมงานด้านอนุรักษ์ ปกป้อง และการออกแบบการอนรักษ์และการใช้ทรัพยากรไปควบคู่กันอย่างยั่งยืน ปฏิบัติได้จริง และก่อประโยชน์กับทุกฝ่าย


เรื่องราวที่น่าสนใจบนเรือเรนโบว์ วอร์ริเออร์