ทุกเรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับเหมืองทะเลลึก 

เหมืองทะเลลึก คือการนำเอาแร่ธาตุจากก้นทะเลที่ลึกลงไปกว่าพันๆเมตร ซึ่งจะทำลายทั้งระบบนิเวศและความสามารถในการรักษาสมดุลสภาพภูมิอากาศของมหาสมุทร ในหน้านี้ เราจะอธิบายให้ฟังว่าเหมืองทะเลลึกคืออะไร กระทบต่อระบบนิเวศมหาสมุทรอย่างไร กระบวนการปัจจุบันไปถึงไหน และเราทำอะไรได้บ้างในการปกป้องมหาสมุทร 


เหมืองทะเลลึกคืออะไร ? 

เหมืองทะเลลึกคือการนำเอาแร่ธาตุจากก้นทะเลลึกมาใช้ โดยแร่เหล่านี้อยู่ลึกลงไปจากผิวน้ำกว่าพันเมตร ซึ่งมีแร่ธาตุอยู่จำนวนมาก เช่น แมงกานีส นิกเกิล และโคบอลต์  ทับทมกันในทะเลเป็นล้าน ๆ ปี จนรวมเป็นก้อนขนาดเท่ามันฝรั่ง

การจะนำแร่เหล่านี้มาใช้ บริษัทอุตสาหกรรมต้องส่งเครื่องจักรขนาดใหญ่ลงสู่ก้นบึ้งของมหาสมุทร และส่งแร่ผ่านท่อที่ยาวหลายกิโลเมตรขึ้นมาบนเรือ แน่นอนว่าทราย น้ำทะเล และแร่ธาตุอื่นๆก็จะถูกดูดขึ้นมาด้วย 

เหมืองทะเลลึกเป็นอุตสาหกรรมใหม่ มีการทดสอบเพียงไม่กี่ครั้ง ปัจจุบันยังไม่มีการอนุญาตให้ทำเชิงพาณิชย์ อย่างไรก็ดี บริษัทอุตสาหกรรมกำลังผลักดันให้สามารถมีการทำเหมืองทะเลลึกเชิงพาณิชย์ให้ได้ 


ปัญหาของการทำเหมืองทะเลลึก 

ปัญหาหลักของเหมืองทะเลลึกก็เหมือนกับการทำเหมืองบนบกคือ มันทำลายสิ่งแวดล้อม แต่การทำเหมืองทะเลลึกจะเสี่ยงมากกว่า เพราะผลกระทบของมันไม่สามารถคาดการณ์ได้ และอาจไปไกลกว่าแค่พื้นที่ที่มีการทำเมือง

มหาสมุทรเป็นเครื่องมือสำคัญในการรักษาสมดุลสภาพภูมิอากาศ แต่ปัจจุบันมหาสมุทรกำลังเผชิญหน้ากับหลากหลายภัยคุกคามอยู่แล้ว ทั้งจากประมงทำลายล้าง หรือวิกฤตสภาพภูมิอากาศ เหมืองทะเลลึกจึงยิ่งจะเพิ่มปัญหาให้กับมหาสมุทรมากขึ้นไปอีก 


ภัยคุกคามต่อสิ่งมีชีวิตใต้ทะเล 

ปัจจุบัน บริษัทอุตสาหกรรมที่จะทำเหมือง ยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าการทำเหมืองจะกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไร เครื่องจักรขนาดใหญ่ที่จะถูกส่งลงใต้ก้นมหาสุมทร จะก่อให้เกิดตะกอนฟุ้งกระจาย แค่นี้ก็จะสร้างมลพิษในมหาสมุทรแปซิฟิกอย่างมหาศาลแล้ว การฟุ้งกระจายของตะกอนมันสามารถกระจายไปหลายไมล์ และจะกระทบชีวิตสิ่งมีชีวิตในทะเลจำนวนมาก

เสียงที่เกิดจากการทำเหมืองทะเลลึก จะรบกวนการสื่อสารของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเล

นอกจากนี้ชุมชนชายฝั่งทะเลในประเทศกำลังพัฒนาต้องกลายเป็นกลุ่มแรกๆที่ได้รับผลกระทบจากการทำเหมือง 

การศึกษาทางวิชาการพบว่ามีโอกาสสูงมากที่เหมืองทะเลลึกจะส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศใต้ทะเลลึก ผลที่ตามมาคือชุมชนชายฝั่งและประเทศที่อยู่อาศัยโดยพึ่งพิงทรัพยากรจากมหาสมุทรแปซิฟิก ก็จะได้รับผลกระทบตามไปได้ เหมืองทะเลลึกจะทำลายสิ่งมีชีวิตใต้ทะเล นั่นก็คือทำลายอาหารของชุมชนพื้นเมืองในมหาสมุทรแปซิฟิก 

การทำเหมืองจะทำลายระบบนิเวศและที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตใต้ทะเล ระบบนิเวศเหล่านี้มีความสำคัญต่อโลก และยังมีเรื่องที่เราต้องศึกษาอีกมาก นอกจากนี้ ใต้ทะเลลึกยังมีสิ่งมีชีวิตอีกมากที่ยังไม่ถูกค้นพบอีกมาก


ผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศ

ทะเลลึกสำคัญต่อการชะลอการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มันช่วยดูดซับและกักเก็บความร้อนส่วนเกินมากกว่าร้อยละ 90 และเกือบร้อยละ 40 คือคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ การที่เหมืองทะเลลึกไปรบกวนระบบกักเก็บความร้อนนี้จะมีผลอย่างมหาศาลต่อสภาพภูมิอากาศของโลก


โครงการเหมืองทะเลลึก ปัจจุบันถึงไหนแล้ว ?

ปัจจุบันบริษัทในซีกโลกเหนือกำลังร่วมมือกับรัฐบาล ผลักดันให้มีการอนุมัติโครงการเหมืองทะเลลึกเชิงพาณิชย์ 

ถึงแม้ตอนนี้บริษัทจะเริ่มทดสอบทำเหมืองแล้ว แต่ยังไม่มีการอนุมัติให้ทำเหมืองทะเลลึกลึกเชิงพาณิชย์ โดยองค์การก้นทะเลระหว่างประเทศ (The International Seabed Authority หรือ ISA) ได้ออกใบอนุญาต 31 ฉบับให้มีการศึกษาค้นคว้าได้ โดยกำหนดพื้นที่ให้มีการทดลอง 1.5 ล้านตารางกิโลเมตร 

สัญญาเหล่านี้อนุญาตให้มีการค้นคว้าในพื้นที่ที่เรียกว่า the Clarion-Clipperton Zone (CCZ) เป็นพื้นที่ใกล้เส้นศูนย์สูตร อยู่ระหว่างฮาวายและประเทศเม็กซิโก โดยในบริเวณนี้อุดมไปด้วย ทองแดง นิกเกิล แมงกานีส และแร่อื่นๆ ที่อยู่ใต้ก้นทะเล 

องค์กรที่มีหน้าที่ดูแลพื้นทะเล คือ องค์การก้นทะเลระหว่างประเทศ ซึ่งก่อตั้งในปี 2537 ด้วยอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล

แต่ในปี 2564 รัฐบาลนาอูรูประกาศว่าได้ร่วมกับบริษัทเหมืองสัญชาติแคนาดา ซึ่งคำประกาศดังกล่าวเป็นการบังคับใช้ “กฎสองปี”ทำให้ภายในเดือนกรกฎาคม 2566 จะสามารถทำเหมืองทะเลลึกได้โดยใช้กฎอะไรก็ได้ที่มีอยู่ 

การประชุมองค์การก้นทะเลระหว่างประเทศที่ประเทศจาเมกาเมื่อปี 2566 คือการพยายามหาข้อตกลงในการทำเหมือง อย่างไรก็ตามมีเสียงคัดค้าน ทำให้ยังไม่สามารถหาข้อตกลงได้ องค์การก้นทะเลระหว่างประเทศจึงยังคงพยายามผลักดันให้เกิดข้อตกลงในการประชุมปีหน้า 

เจ้าหน้าที่ของ ISA เหมือนจะกำลังพยายามอนุมัติให้มีการทำเหมืองทะเลลึกเชิงพาณิชย์ ขณะที่บริษัทอุตสาหกรรมอ้างว่า การทำเหมืองจะเป็นประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติ ทั้งนี้ รายงานของกรีนพีซ สากล ระบุว่า ที่สุดแล้วผลประโยชน์จากการทำเหมืองจะไปตกอยู่แค่บางประเทศและบริษัทเท่านั้น


ใครค้านเหมืองทะเลลึกบ้าง

ปัจจุบัน ทั้งองค์กรนานาชาติและอีกหลายๆประเทศ เริ่มมีการต่อต้านการทำเหมืองทะเลลึก